วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

การใช้ IFมากกว่า 1 เงื่อนไข-04

ตัวอย่างที่ 4
มาดูเรื่องการใช้ IF เกี่ยวกับการตัดเกรดอีกซักตัวอย่าง
กำหนดว่า ถ้า คะแนน ตั้งแต่ 0-50 ได้ D
กำหนดว่า ถ้า คะแนน ตั้งแต่ 51-60 ได้ C
กำหนดว่า ถ้า คะแนน ตั้งแต่ 61-80 ได้ B
กำหนดว่า ถ้า คะแนน ตั้งแต่ 81-90 ได้ A
กำหนดว่า ถ้า คะแนน ตั้งแต่ 91+ ได้ AA


ต้องการพิมพ์คะแนนที่เซลล์ A2 ให้เกรดที่ได้ปรากฎที่ เซลล์ B2




การใช้ IFมากกว่า 1 เงื่อนไข-03

การใช้ IFมากกว่า 1 เงื่อนไข-02




=IF(B2<50000,5,if(b2<100000,10,20))>

=IF(B2>=100000,20,IF(B2>=50000,10,5))
อธิบายสูตรได้ว่า
เงื่อนไขที่ 1 ถ้า B2 มากกว่าหรือเท่ากับ 100000 ให้เป็น 20
เงื่อนไขที่ 2 ถ้า B2 มากกว่าหรือเท่ากับ 50000 ให้เป็น 10
เงื่อนไขที่ 3 ถ้าไม่ใช่ให้เป็น 5

การใช้ IFมากกว่า 1 เงื่อนไข-01



เขียนสูตรได้ 2 แบบดังนี้
แบบที่ 1 =IF(A2>30,100,IF(A2>19,40,IF(A2>12,20,"ฟรี")))

อ่านสูตรได้ดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 ถ้า A2>30 ให้เป็น 100
เงื่อนไขที่ 2 ถ้า A2>19 ให้เป็น 40
เงื่อนไขที่ 3 ถ้า A2>12 ให้เป็น 20
เงื่อนไขที่ 4 ถ้าไม่ใช่ให้เป็น ฟรี

แบบที่ 2 = IF(A2<13,"ฟรี",if(a2<20,20,if(a2<31,40,100)))>

อ่านสูตรได้ดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 ถ้า A2<13>

หมายเหตุ โดยเงื่อนไขนี้ เศษของอายุให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็ม เช่น 19 ปี 3 เดือนให้ปัดเป็น 20 ปี

ฟังก์ชั่น IF (มากกว่า 1 เงื่อนไข)

การทำงานของฟังก์ชั่น IF ที่มีมากกว่า 1 เงื่อนไข จะคล้ายๆกับการทำงานของ IF แบบเงื่อนไขเดียว
ดังที่ได้อธิบายและยกตัวอย่างมาก่อนหน้านี้
สำหรับ Excel 2003 จะสามารถสร้างเงื่อนไขได้ไม่เกิน 7 เงื่อนไข ปกติ
แต่ก็มีวิธีที่สามารถที่จะซ้อนเงื่อนไขลงไปให้ได้มากกว่า 7 เงื่อนไข โดยใช้คุณสมบัติ และฟังก์ชั่นบางอย่างของ Excel มาช่วย ซึ่งจะอธิบายกรณีที่ซ้อน IF มากกว่า 7 เงื่อนไข ในโอกาสต่อไป
โครงสร้างของสูตรและวิธีอ่านสูตร IF ที่มีเงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไข จะอธิบายดังต่อไปนี้
=IF(เซลล์อ้างอิง ,เงื่อนไข1 ,IF(เซลล์อ้างอิง ,เงื่อนไข2,IF(เซลล์อ้างอิง , เงื่อนไข...,เงื่อนไขสุดท้าย)))

เงื่อนไขที่ 1
ขึ้นต้นด้วย =IF(เซลล์อ้างอิง
ตามด้วย เครื่องหมาย คอมม่า (,) อ่านว่าให้เป็น ……+ เงื่อนไขที่ 1 และ ปิดด้วยเครื่องหมายคอมม่า

เงื่อนไขที่ 2
ขึ้นต้นด้วย IF(เซลล์อ้างอิง (สังเกตุว่าไม่ต้องมีเครื่องหมาย = หน้า IF อีก)
ตามด้วย เครื่องหมาย คอมม่า (,) อ่านว่าให้เป็น ……+ เงื่อนไขที่ 2 และ ปิดด้วยเครื่องหมายคอมม่า

เงื่อนไขที่ 3
ขึ้นต้นด้วย IF(เซลล์อ้างอิง (สังเกตุว่าไม่ต้องมีเครื่องหมาย = หน้า IF อีก)
ตามด้วย เครื่องหมาย คอมม่า (,) อ่านว่าให้เป็น ……+ เงื่อนไขที่ 3 และ ปิดด้วยเครื่องหมายคอมม่า

เงื่อนไขที่ 4 ....เงื่อนไขที่ 5...เงื่อนไขที่ 6.... เงื่อนไขที่7 ให้เขียนสูตร ด้วยโครงสร้างเดียวกัน

หน้าเงื่อนไขสุดท้าย ไม่ต้องมี IF อีก ให้ใส่ คอมม่า (,) เข้าไปเลย
เครื่องหมายคอมม่า (,) หน้าเงื่อนไขสุดท้าย อ่านว่า
ถ้าไม่ใช่ให้เป็น.....

ส่วนสุดท้ายคือ ต้องปิดวงเล็บให้คำสั่ง IF เสมอ โดยดูว่าใช้ IF ไปแล้วกี่ IF
ให้ปิดวงเล็บตามจำนวน IF
เช่น มี 2 เงื่อนไข ต้องปิด 2 วงเล็บ
มี 3 เงื่อนไข ต้องปิด 3 วงเล็บ
มี 4 เงื่อนไข ต้องปิด 4 วงเล็บ
มี 5 เงื่อนไข ต้องปิด 5 วงเล็บ
มี 6 เงื่อนไข ต้องปิด 6 วงเล็บ
มี 7 เงื่อนไข ต้องปิด 7 วงเล็บ

มาลองทำโจทย์ดู เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
อ่านทฤษฎีอย่างเดียวมันเข้าใจยาก
ผมจะให้ตัวอย่างโจทย์ในหลายๆกรณี
โปรดติดตาม...

การใช้ IF ขั้นพื้นฐาน (เงื่อนไขเดียว)-15

ตัวอย่างต่อไปนี้นำไปใช้ได้บ่อยๆในการใช้งานจริง เช่นการทำ Pivotable แล้วพบว่าข้อมูลถูกเรียงลงมาเป็นชุดๆโดยรายการที่ซ้ำกันแสดงออกมาเพียงบรรทัดเดียว บางครั้งผู้ใช้ต้องการที่จะให้รายการนั้นๆ กลับไปมีทุกๆบรรทัดเหมือนต้นฉบับ ถ้ามีข้อมูลไม่มาก กรณีแบบนี้สามารถใช้การ copy ลงไปทีละชุดๆ ก็สามารถทำได้ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าจะมีรายการเหล่านี้อยู่มากบางครั้งเป็น ร้อยๆ พันๆบรรทัด การที่จะ copy ลงมาทีละชุดไม่สามารถทำได้สะดวก

เราสามารถใช้คำสั่ง IF ช่วยในการจัดการได้ดังนี้





การใช้ IF ขั้นพื้นฐาน (เงื่อนไขเดียว)-14

การใช้ IF ขั้นพื้นฐาน (เงื่อนไขเดียว)-13

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552