วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดลับการเขียนสูตร IF ที่มากกว่า 1 เงื่อนไข

จากตัวอย่างที่ผ่านๆมาน่าจะพอ อ่านสูตร IF ที่มากกว่า 1 เงื่อนไขได้แล้ว
แปลใจความของสูตรได้ โดยยึดหลัก คอมม่า (,)
โดยให้ อ่านว่า ให้เป็น เจอคอมม่า(,) อีกก็ให้อ่านว่า ให้เป็น ไปเรื่อยๆ คอมม่า(,)สุดท้ายอ่านว่า ถ้าไม่ใช่ให้เป็น
แล้วทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่า ทำไมต้องเขียนสูตรแบบนั้น

กรุณาอ่านช้าๆ ต่อไปนี้จะบอกเคล็ดสำคัญประการหนึ่งนั่นคือ
การเขียนสูตร IF มากกว่า 1 เงื่อนไขนั้น จะเรียงเงื่อนไขมากไปน้อย หรือน้อยไปมากนั้น มีหลักพอให้จับดังนี้

ถ้าเขียนเงื่อนไขน้อยไปหามาก ให้เรียง เงื่อนไข จากน้อย ที่สุด ไปมากที่สุด ตามลำดับ และใช้ เครื่องหมายน้อยกว่า (<) ตัวอย่างสูตร =IF(B2<6,"อนุบาล",if(b2<12,"ประถม","มัธยม"))>ไป 12
แบบนี้ถือว่าถูกต้อง คือ เราเลือกเครื่องหมาย น้อยกว่า (<) เราก็ต้องเริ่มจาก เลข น้อย ไปหา เลขมาก จะเขียนแบบนี้ไม่ได้ เช่น =IF(B2<12,"ประถม",if(b2<6,"อนุบาล","มัธยม"))> ไป 6)


ตัวอย่างสูตร
=IF(B2>=12,"มัธยม",IF(B2>=6,"ประถม","อนุบาล"))
กรณีนี้เราเลือกเงื่อนไขจากมากไปหาน้อย
ดูจากเครื่องหมายมากกว่า (>)
ดังนั้นเราจึงต้องเริ่ม ที่เลข (อายุ) มาก ไปหาน้อย ในที่นี้คือ 12-->ไป 6

จะเป็นแบบนี้ตลอดในการเขียนเงื่อนไข มากกว่า 1 เงื่อนไข ที่มีการเรียงลำดับของเงื่อนไข
ส่วนใครจะมีวิธีพิสดารกว่านี้ ก็อาจจะทำได้ แต่โดยพื้นฐานและหลักที่ถูกต้อง ควรยึดตามแบบนี้
จะได้ไม่สับสน ในภายหลัง

อีกซักชุด
=IF(A9>1000000,4,IF(A9>100000,3,2.75))
ถ้า A9 มากกว่า 1000000 ให้เป็น 4
ถ้า A9 มากกว่า 100000 ให้เป็น 3
ถ้าไม่ใช่ ให้เป็น 2.75

กรณีนี้เราเลือกเงื่อนไขจากมากไปหาน้อย
ดูจากเครื่องหมายมากกว่า (>)
ดังนั้นเราจึงต้องเริ่ม ที่เลขที่มากกว่าชาวบ้าน ไปหาน้อย
ในที่นี้คือ มากกว่า 1,000,000
ถัดไป คือ มากกว่า 100,000
ถัดไปคือ ค่าที่ ตั้งแต่ 100,000 ลงไป(ความหมายคือ มากกว่า 0 จนถึง 100,000นั่นเอง )