วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

VLookup-01

มีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่งที่คอลัมน์ B ดังตาราง ให้ใช้คำสั่ง Vlookup ค้นหาคำว่า แมว ว่ามีอยู่ในชุดข้อมูลนั้นหรือไม่







จากนั้นลองพิมพ์คำว่า ลิงจ๋อลงไป แทนคำว่า แมว








โดยปกติเวลาทำงานจริงๆ เรามักจะเปรียบเทียบข้อมูลจาก ชุดข้อมูล 2 ชุดเป็นหลัก



เช่น ข้อมูลนั้นๆ อยู่คนละ worksheet หรืออยู่คนละไฟล์และการทำงานจริงๆนั้น ข้อมูลที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน หรือพูดภาษาง่ายๆว่า เอามาชนกันดูนั้น มักจะเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ



ลองมาดูอีกซักตัวอย่าง


มีข้อมูล 2 ชุด ถ้าข้อมูลชุดที่ 2 มีอยู่ในชุดที่ 1 ให้แสดงจำนวนออกมา





จากสูตร = VLOOKUP(B10,$B$3:$C$5,2,0)


ต้องล็อกในส่วนของชุดข้อมูลที่ให้อ่านค่าด้วยเพื่อไม่ให้ข้อมูลนั้นเคลื่อน(บางทีก็เรียกว่าการตรึงค่า) เมื่อcopy สูตรลงไปบรรทัดอื่น ในที่นี้ชุดข้อมูลที่ให้อ่านค่าคือ B3:C5 ดังนั้นต้องล็อกพื้นที่นั้นไว้ไม่ให้เคลื่อนกรณี copy สูตรไปไว้ที่อื่นๆ หรือ copy สูตรไปบรรทัดอื่นๆ โดยการ ใส่เครื่องหมาย $ ปิดหน้าปิดหลังดังนี้ $B$3:$C$5


เครื่องหมาย $เพื่อตรึงค่านี้ ผู้ใช้งานทั่วๆไปน่าจะมีพื้นฐานมาบ้างแล้ว ขอไม่อธิบายเพิ่มเติมในที่นี้


การตรึงค่าหรือ ล็อกพื้นที่ของข้อมูลหรือชุดข้อมูลที่ให้อ่านค่านี้สำคัญมาก ต้องระวัง


ถ้าจะ copy สูตรไปบรรทัดอื่นๆต้องล็อกพื้นที่ชุดนั้นๆไว้ก่อนเสมอ (มือใหม่ๆมักจะลืม)


และมีข้อสังเกตุ ที่ควรจำไว้ให้ขึ้นใจว่า ถ้าหากเราอ้างอิงข้อมูลหรือให้อ่านค่าในชุดข้อมูลข้ามไฟล์ (ไม่ใช่ข้าม worksheet) ในสูตร Vlookup นั้น Excel จะทำการล็อกหรือตรึงค่าให้โดยอัตโนมัติ




ลองอีกซักตัวอย่าง ง่ายๆ


ต้องการพิมพ์รหัสพนักงาน ที่เซลล์ใดๆ แล้วแสดงข้อความที่เกี่ยวกับพนักงานคนนั้นๆมาทั้งหมดเช่น ชื่อ ,อายุงาน, เงินเดือน